บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

1. ความพอเพียง

          ปรากฎเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
ฝ่ายพวกภิลล์ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านนั้นประพฤติตัวเป็นโจรอยู่โดยปกติ ครั้นเห็นชายคนเดียวแต่งตัวด้วยของมีค่าเดินเข้ามาเช่นนั้น ก็คุมกันออกมาจะชิงทรัพย์ในพระองค์ พระราชาท้าวมหาพลทรงเห็นดังนั้นก็ทรงพระแสงธนูยิงพวกโจรล้มตายลงเป็นอันมาก ฝ่ายนายโจรได้ทราบว่าผู้มีทรัพย์มาฆ่าฟันพวกตนลงไปเป็นอันมากดังนั้น ก็กระทำสัญญาเรียกพลโจรออกมาทั้งหมดแล้วเข้าล้อมรบพระราชา ท้าวมหาพลองค์เดียวเหลือกำลังจะต่อสู้ป้องกันอาวุธพวกโจรได้ก็สิ้นพระชนม์ลงในที่นั้น พวกภิลล์ก็ช่วยกันเข้าปลดเปลื้องของมีค่าออกจากพระองค์ แล้วพากันคืนเข้าสู่บ้านแห่งตน

หากพวกภิลล์รู้จักพอกับสื่งที่ตนเองมีอยู่ ก็จะไม่มาปล้นท้าวมหาพล แต่ถ้าหากท้าวมหาพลไม่แต่งกายด้วยของมีค่า ก็จะไม่ถูกพวกภิลล์ปล้นเช่นกัน

เหตุการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับพุทธวจนะสุภาษิตที่ว่า
อปฺปิจฺฉตา อตฺถาย สํวตฺตติ : ความรู้จักพอ มีประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่


2. ความมีวินัย

          ปรากฎเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

                เมื่อ 2,000 กว่าปีผ่านมา ณ เมือง อุชเชนี (อุชเชยินี) มีพระราชาทรงพระปรีชาสามารถเป็นที่เลื่องลือทรงพระนามว่า พระวิกรมาทิตย์ ครั้งนั้นมีโยคีตนหนึ่งชื่อ ศานติศีล ผูกอาฆาตพระราชบิดาของพระวิกรมาทิตย์และประสงค์ที่จะเอาชีวิตพระองค์แทน เพื่อเป็นการบูชานางทุรคา เพราะพระวิกรมาทิตย์ทรงพระราชสมภพใรวัน เดือน ปี และฤกษ์เดียวกันกับตน โยคีศานติศีลจึงทำอุบายปลอมตนเป็นพ่อค้านำทับทิมล้ำค่าซ่อนไว้ในผลไม้มาถวายพระวิกรมาทิตย์ทุกวัน พระวิกรมาทิตย์จึงพระราชทานพระอนุญาตให้พ่อค้าทูลขอสิ่งที่ปรารถนาเพื่อเป็นการตอบแทน ศานติศีลจึงเผยตัวว่าตนเองเป็นโยคี และทูลขอให้พระวิกรมาทิตย์ไปจับเวตาลในป่าช้าเพื่อนำมาประกอบพิธีอย่างหนึ่ง และตามสัญญาพระวิกรมาทิตย์จะต้องเสด็จไปกับพระราชโอรสเท่านั้น

          พระวิกรมาทิตย์ทรงทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับโยคี เพียรพยายาม และมีวินัย เพื่อที่จะนำตัวเวตาลมาให้ได้  แม้เวตาลมักจะยั่วยุให้พระวิกรมาทิตย์แสดงความคิดเห็นออกมา ทำให้พระองค์ต้องกลับไปปีนต้นอโศกเพื่อจับเวตาลใส่ย่ามอยู่หลายครั้ง ครั้นเวตาลยอมให้จับได้ ก็ยั่วยุจนหลุดไปได้ วนเวียนอยู่ถึง 24 ครั้ง จึงนับว่าเป็นยอดแห่งความเพียรพยายาม ความมีวินัย และความอดทนอดกลั้น ยากที่มนุษย์ธรรมดาจะทำได้

                เหตุการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับพุทธวจนะสุภาษิตที่ว่า
กิจฺจกโร สิยา น จ มชฺเช :  ทุกคนควรทำหน้าที่ของตน และไม่ควรประมาท








3. ความกตัญญู

ปรากฎเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

          ท้าวจันทรเสนตรัสว่า “เหตุไฉนเจ้าจึงกล่าวดังนี้ พระราชมารดาของเจ้าสิ้นพระชนม์ไปไม่กี่วัน เจ้าจะอยากมีแม่เลี้ยงเร็วเท่านี้เจียวหรือ”
          พระราชบุตรทูลตอบว่า “ขอพระองค์อย่ารับสั่งเช่นนั้น เพราะบ้านของผู้ใหญ่ในครอบครัวนั้น ถ้าไม่มีแม่เรือนก็เป็นบ้านที่ว่าง อนึ่งพระองค์ย่อมจะทรงทราบคาถาซึ่งมูลเทวะบัณฑิตแต่งไว้ มีความว่า ชายผู้ไม่ใช่คนโง่ ไม่ยอมคืนสู่เรือนซึ่งไม่มีนางที่รักผู้มีรูปงามคอยรับรองในขณะที่กลับถึงเรือนนั้น แม้เรียกว่าเรือนก็ไม่ใช่อื่น คือคุกซึ่งไม่มีโซ่เท่านั้นเอง พระองค์ย่อมทรงทราบด้วยพระองค์เองว่า ความสุขแห่งพ่อบ้านซึ่งอยู่โดดเดี่ยวนั้นมีไม่ได้ในบ้าน แลมีไม่ได้นอกบ้าน เพราะไม่มีหวังจะได้ความสุขเมื่อกลับมาสู่เรือนแห่งตน”

          พระราชบุตรเป็นห่วงพระราชบิดาว่าหากไม่มีภรรยาก็ไม่มีความสุข เปรียบเทียบการกลับบ้านำปแล้วไม่มีนางอันเป็นที่รักคอยต้อนรับ ก็เหมือนคุกที่ไม่มีโซ่ พระราชบุตรเข้าใจพระราชบิดาของตนเอง โดยการให้พระราชบิดาเลือกนางเท้าเขื่องไปเป็นพระมเหสี พระราชบิดาจะได้มีความสุข

เหตุการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับพุทธวจนะสุภาษิตที่ว่า
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา : ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี








4. ความซื่อสัตย์

ปรากฎเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

ท้าวมหาพลเห็นจะรักษาชีวิตของพระองค์ไว้ไม่ได้ด้วยวิธีรบ ก็คิดจะรักษาชีวิตด้วยวิธีหนี จึ่งพาพระมเหสีแลพระราชธิดาออกจากกรุงไปในเวลาเที่ยงคืนจำเพาะสามพระองค์ พระราชาทรงพานางทั้งสองเล็ดรอดพ้นแนวทัพข้าศึกไป แล้วก็ตั้งพระพักตร์มุ่งไปยังเมืองซึ่งเป็นเมืองเดิมของพระมเหสี

แม้จะอยู่ในยามศึกสงครามท้าวมหาพลก็ไม่ทอดทิ้งพระมเหสีและพระราชธิดา พาพระมเหสีและพระราชธิดาหนีมาด้วยกัน และท้าวมหาพลก็รักและซื่อสัตย์ต่อพระมเหสีเพียงคนเดียวไม่เคยมีหญิงอื่น

เหตุการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับพุทธวจนะสุภาษิตที่ว่า
สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ : ความซื่อสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น